ท่ามกลางวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 (โควิด-19) มีโอกาส
ท่ามกลางวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 (โควิด-19) มีโอกาส
“ในวันที่ชาติอ่อนไหว ขอให้เราอย่ายอมพ่ายแพ้ เมื่อไรที่ใจอ่อนแอ ขอคนไทยจงสามัคคี
ไม่มีใครไม่เคยโชคร้าย และไม่มีใครไม่เคยโชคดี เจอปัญหาที่เราไม่อาจหนี น้องพี่ต้องสู้ให้สุดทางและครั้งนี้ต้องชนะ ชนะคำเดียวเท่านั้น ทุกหัวใจต้องร่วมกันเป็นพลัง ช่วยเหลือเผื่อแผ่กันไว้ ต้องร่วมแรงร่วมใจเท่านั้น ปาฎิหารย์จึงจะบังเกิด”
(#เพลงประเทศไทยต้องชนะ#Produced by: Songwriters’club)
ผศ. ทัศนีย์ ภู่สำอางค์
สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มธ
ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน การปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ตามปกติ จำเป็นต้องทำงานต่อสู้กับความยากจนของคนในชุมชน ความยากลำบากของการเข้าถึงบริการในเขตทุรกันดานที่ไม่เท่าเทียมกันในสังคมไทย ล้วนเป็นข้อจำกัดในการดูแลสุขภาพประชาชนที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขพยายามส่งเสริม ป้องกันโรค เพื่อให้ประชาชนสุขภาพแข็งแรง สามารถพึ่งพาตนเองได้ บุคคลากรทางการแพทย์ก็มีภาระหน้าที่ที่หนักหน่วงอยู่ทุกช่วงขณะของการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมไทย การเปลี่ยนแปลงภาคเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบริหารประเทศของภาคการเมือง ส่งผลต่อการดูแลตนเองและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อมเสมอมา
จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่เข้ามาในประเทศไทยในช่วงต้นปี 2020 โดย Super spread กลุ่มแรกเป็นผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยและที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ จานวน 70 ราย ได้แก่ สนามมวย 5 ราย กลุ่มสถานบันเทิง 15 ราย กลุ่มผู้สัมผัสกับผู้ป่วยที่มีรายงานมาแล้ว 49 รายและผู้ร่วมพิธีทางศาสนาที่ประเทศมาเลเซีย 1 ราย กลุ่มที่สอง ได้แก่ ผู้ป่วยรายใหม่จานวน 43 ราย ได้แก่ กลุ่มที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงทั้งคนไทยและต่างชาติ 22 ราย กลุ่มผู้ทางาน/อาศัยและเดินทางไปในสถานที่แออัดเกี่ยวข้องกับต่างชาติจานวน 8 ราย กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เป็นต้น ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป จานวน 4.7 ล้านคน (ข้อมูลจากสำนักงานวิจัยแห่งชาติ) กลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว และกลุ่มเด็กเล็กต่ำกว่า 5 ปีลงมา ซึ่งกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้ รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขประกาศให้ปฏิบัติตามมาตราการการให้อยู่ในเคหะสถานหรือสถานที่พัก เพื่อป้องกันการรับเชื้อจากบุคคลและสภาพแวดล้อมภายนอก ร่วมกับส่งเสริมการมีพฤติกรรมกินร้อน ช้อนเรา ล้างมือบ่อยๆครั้งอย่างเคร่งครัด หากเมื่อมีอาการไข้ ป่วย ไอ มีอาการทางเดินหายใจ ให้รีบพบแพทย์โดยเร็ว ในระยะแรกของการแพร่ระบาด ซึ่งในจำนวนกลุ่มที่สอง ในจำนวนนี้มีบุคลากรทางการแพทย์จานวน 8 รายซึ่งในจำนวน 6 ราย ติดจากผู้ป่วยซึ่งอาจไม่ได้ให้ข้อมูลประวัติที่ชัดเจน/ปกปิดข้อมูลต่อเจ้าหน้าที่ ความเสี่ยงที่ต้องคัดกรอง รักษาและดูแลผู้ป่วยทาให้บุคลากรทางการแพทย์/พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ และผู้ปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก็ต้องป้องกันตนเองจากการรับเชื้อด้วยมาตรการขั้นสูงสุด เพื่อคงไว้ซึ่งจำนวนอัตรากาลังที่เพียงต่อการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิดที่มีอาการหนักที่กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ
ภายใต้แคมเปญ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ”และ การประกาศเคอร์ฟิวของรัฐบาลด้วยการจากัดเวลาออกนอกเคหะในยามวิกาล การระบาดยังคงเป็นไปอย่างรวดเร็วและกระจายในทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย โรงพยาบาลทั่วทุกภาคของประเทศประสบปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อในบุคลากรทางการแพทย์ผู้ปฏิบัติงาน อาทิ หน้ากากอนามัย หน้ากาก N95 ชุดคลุมอัดอากาศแรงดันบวก(PAPR) และชุดอุปกรณ์ป้องกันทางการแพทย์มาตราฐานสูง(protective suit) และเปลนอนความดันลบ(Negative Pressure)ทาให้เกิดความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อต่อจากผู้ป่วย Covid 19 ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อระบบบริการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล การจัดการภายใต้สรรพกำลังของทรัพยากรทางด้านสาธารณสุขที่มีด้วยการคิดจากวิกฤตที่เกิดปัญหา ทำให้สถาบันหน่วยงานบุคคลากรร่วมมือกันพยายามคิดประดิษฐ์นวัตกรรมเพื่อประโยชน์ในวงกว้างของของการป้องกันการแพร่ระบาด ดังเช่น โดยคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ดัดแปลงสร้างหน้ากากอนามัย silicone mask ที่มีมาตราฐานสูงกว่า 95 คือ มีความสามารถในการกรองอนุภาคได้ถึงN 99 ขึ้นจากวัสดุทางการแพทย์ที่มีอยู่ในโรงพยาบาลใช้เป็น Facemask สาหรับผู้ป่วยที่ให้ออกซิเจนมาต่อให้แน่นกับ Hepa Filter ที่ปกติต่อกับเครื่องช่วยหายใจพร้อมกับใช้สาย silicone รัดกับด้านหลังศรีษะของบุคคลากรทางการแพทย์เพื่อให้กระชับกับใบหน้า และสามารถใช้ได้นาน 72 ชั่วโมง จึงเปลี่ยนตัวกรอง Hepa Filter กรณีหลังการใช้ที่สัมผัสโรค ให้ทาความสะอาดโดยการ Auto Clave ซึ่งนวตกรรมนี้ผ่านการทดสอบในห้องปฏิบัติการของวชิรพยาบาลในเรื่องของศักยภาพการกรองอนุภาค และผ่านการตรวจสอบในเรื่องการยึดกระชับ โดยวชิรพยาบาลได้เผยแพร่แนวทางการจัดทำหน้ากากป้องกันการติดเชื้อในเวปคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เพื่อให้โรงพยาบาลต่างๆสามารถดัดแปลงหน้ากากดังกล่าวขึ้นใช้ได้ทันทีในภาวะที่ขาดแคลนหน้ากาก N 95 นี้
นอกจากนี้เรายังได้เห็นภาพการสนับสนุนจากภาคประชาชน กลุ่มองค์กรภาครัฐและเอกชนหลายกลุ่ม ห้างร้าน บริษัทต่างๆ เข้ามาให้การสนับสนุนในแง่ของการจัดหาวัสดุการผลิตชิ้นงาน การจัดทาชิ้นงานและ การจัดส่งอุปกรณ์ป้องกันไปยังบุคลากรการแพทย์ เพื่อช่วยให้กระบวนการรักษาพยาบาลผู้ป่วยในสถานการณ์โรคระบาดครั้งนี้ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์เพื่อช่วยให้ประเทศกลับสู่ความเรียบร้อยโดยเร็ว นอกจากนี้ยังเห็นภาพของบุคคลธรรมดาทั่วไป ทุกภาคส่วนที่เห็นใจ เข้าใจในความ
เหนื่อยยากของบุคคลากรทางการแพทย์ร่วมกันจัดหาอุปกรณ์/จัดทา face shield บริจาคเงินเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ บางรายจัดหาอาหารกลางวันมาบริจาคให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน โรงพยาบาลสนามในประเทศไทยถูกจัดตั้งขึ้นและพบลักษณะ 2 รูปแบบ คือ 1.โรงพยาบาลสนามที่ใช้สาหรับการพักฟื้นผู้ติดเชื้อโควิด-19 (Hospitel) และ 2.โรงพยาบาลสนามที่ใช้สังเกตอาการของผู้เข้าข่ายเฝ้าระวัง (Hotel Isolation) ประเทศไทยแม้ไม่ได้สร้างโรงพยาบาลสนามสาหรับรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโคโรนาไวรัสเสร็จภายใน 10 วัน ดังเช่นประเทศจีนซึ่งมีศักยภาพมากนั้น แต่ได้ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น หอพักนักศึกษา/บุคลากรเจ้าหน้าที่ โรงแรม ที่พักค่ายทหาร ต่างๆ มาเป็นโรงพยาบาลสนาม หรือสถานที่พักเพื่อเฝ้าระวังได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากความร่วมมือของสถาบันการศึกษา คณะแพทยศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของประเทศไทยในภาคกลางระหว่างโรงเรียนแพทย์ทั้ง 5 สถาบัน คือ คณะแพทศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี และคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล และกระทรวงสาธารณสุขได้ดาเนินการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามถูกจัดตั้งขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย จานวน 308 เตียง ในพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ร่วมกันบริหารจัดการอาคารหอพัก ที่เคยเป็นหอพักสาหรับนักกีฬาเอเชี่ยนเกมส์เมื่อ 20 ปีที่แล้วนั้น ปรับเป็นโรงพยาบาลสนามรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่มีอาการไม่รุนแรงหรืออยู่ในระยะพักฟื้น เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา โดยใช้บุคลากรทางการปฏิบัติงานเป็น แพทย์และพยาบาลของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ในการดูแลผู้ป่วยและการจัดเตรียมสถานที่ในเบื้องต้น โดยพยาบาลส่วนใหญ่เป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสนามเป็นพยาบาลในงานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษ เช่น พยาบาลห้องผ่าตัด พยาบาลศัลยกรรม เป็นต้น ซึ่งจะได้รับการเตรียมความพร้อมในการซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการดูแลพยาบาลผู้ป่วยก่อนการปฏิบัติงาน โดยพยาบาลจะมีการบริหารจัดการการจัดอัตรากาลังออกเป็น 2 ผลัดทุก 5 วัน เพื่อสามารถหมุนเวียนเปลี่ยนอัตรากาลังเป็นอีกชุดปฏิบัติการพยาบาล หากเมื่อมีบุคลากรแพทย์และพยาบาลติดเชื้อ
การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ยังมีเจ้าหน้าที่และบุคลากรสนับสนุน(Back office)ที่อยู่เบื้องหลังอีกมากมาย อาทิ เจ้าหน้าฝ่ายอาคารสถานที่ งานติดตั้งซ่อมบารุง เจ้าหน้าที่นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา พนักงานบริการเปล พนักงานขับรถ เป็นต้น ล้วนเป็นฟันเฟืองที่สาคัญทาให้ระบบการดูแลผู้ป่วยขับเคลื่อนเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ระบบสนับสนุนอื่นๆที่เห็นอย่างเป็นรูปธรรม ได้มีการคิดค้นนวตกรรมและเทคโนโลยี นาเข้ามามีส่วนช่วยในการดูแลผู้ป่วยเพื่อลดการสัมผัสปนเปื้อนเชื้อที่อาจเกิดขึ้นจากการดูแล อาทิ เช่น โดยมีการใช้ระบบ video call หุ่นยนต์จ่ายยาและอาหาร พร้อมวิดีโอเพื่อมอนิเตอร์ผู้เข้ารับการรักษาตลอด 24 ชั่วโมง ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดภาวะฉุกเฉินหรือต้องการความช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลจะให้การดูแล พร้อมทั้งมีการจัดทาระบบฉุกเฉินและระบบส่งต่อผู้ป่วย
โรงพยาบาลหลายแห่งในต่างจังหวัดได้ทยอยจัดตั้งโรงพยาบาลสนามเพื่อการรองรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่มีเพิ่มจานวนมากขึ้นเรื่อย ประกอบกับเป็นการแยกผู้ติดเชื้อออกจากผู้ป่วยเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล อาทิเช่น โรงพยาบาลสนามภูเก็ต ที่ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563 จากความร่วมมือของโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต โรงพยาบาลถลาง โรงพยาบาลป่าตอง โดยผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตร่วมกับประชาชน ใช้อาคารศาลากลางจังหวัดภูเก็ตหลังใหม่ เป็นโรงพยาบาลสนาม เช่นเดียวกับ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ สาขา 2 โดยใช้อาคารรังสีรักษา โรงพยาบาลนาหม่อม อาเภอนาหม่อม ซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือของโรงพยาบาลหาดใหญ่ โรงพยาบาลนาหม่อม โรงพยาบาลสงขลานครินร์ในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามเพื่อผู้ป่วยที่มีอาการไม่มากและรอการพักฟื้นจากผู้ติดเชื้อโควิดเป็นผู้รอดชีวิตจากโควิค
“ในวิกฤตมีโอกาสเสมอ” ภาพความทุ่มเททางานด้วยภาระหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคที่มองไม่เห็น ภาวะจิตใจของนักรบทุกคนต้องเข้มแข็ง อดทน เด็ดเดี่ยวมากพอที่จะไม่ปฏิเสธแม้จะต้องรักษาระยะห่างจากครอบครัวอันเป็นที่รัก พยาบาลวิชาชีพทั้งในระดับผู้บริหารและระดับปฏิบัติการซึ่งเป็นหนึ่งในทีมนักรบชุดขาว ด้วยความร่วมมือของสหวิชาชีพจึงได้รับการยกย่องและการปฏิบัติหน้าที่ประจักษ์แก่สายตาของประชาชนในสังคม จนกระทั้งในการประชุม ครม .ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563 เรื่อง การเพิ่มอัตราการข้าราขการตั้งใหม่และมาตราการเพิ่มประสิทธิประโยชน์อื่นสาหรับบุคลากรทางกระทรวงสาธารณสุขรองรับภาวะฉุกเฉินในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า มีมติอนุมัติเห็นชอบให้จัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการจานวน 5 สายงาน ได้แก่ นายแพทย์และทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพและนักวิขาการสาธารณสุขรวมทั้งสิ้น 7,579 อัตราจากจานวน 38,105 อัตรา นับเป็นโอกาสที่มาในวิกฤติอีกครั้งของคนทางานด้านสาธารณสุข
ด้วยระยะเวลาเกือบ 2 เดือนแล้วที่รัฐบาลประกาศ พรบ.ฉุกเฉินให้ประชาชนทุกคนอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อจากการเดินทางพบปะในที่สาธารณะ เป้าหมายคือจานวนผู้ติดเชื้อที่มีการเพิ่มจานวนขึ้นให้น้อยที่สุด เพื่อให้โรงพยาบาลและเจ้าหน้าที่ที่มีจานวนจากัดสามารถรับสถานการณ์การรักษาผู้ป่วยติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทาให้เกิดภาวะสูญญากาศการจ้างงาน การเลิกจ้างงาน แม้ตัวเลขการติดเชื้อลดลงเป็นเลขหลักเดียวและเกิดมาตราการการผ่อนปรนที่ค่อยๆทยอยออกมาเพื่อลดปัญหาปากท้องของประชาชน แต่ภาวะเศรฐกิจก็คงไม่กลับมาดีขึ้นภายในข้ามคืน การช่วยเหลือผู้คนที่ยากลาบากยังต้องการอีกมากและต่อเนื่องในระยะยาว คงเป็นการดี ถ้าคนที่อยู่รอดได้ในสถานการณ์นี้ ช่วยกันมองผู้คนรอบตัวที่ต้องการความช่วยเหลือเท่าที่มีกาลัง (พญ.วนิดา เปาอินทร์ #ป้าหมอขอขยาย)
………………………………….เราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน…………………………………………